เมนู

9. อรรถกถาพหุเวทนิสูตร


พหุเวทนิยสูตร

มีบทเริ่มต้นว่า เอวมฺเม สุตํ ข้าพเจ้าได้ฟังมา
แล้วอย่างนี้.
ในบรรดาบทเหล่านั้น คำว่า ปัญจกังคะ ในคำว่า ปญฺจกงฺโค
ถปติ
เป็นชื่อของนายช่างไม้นั้น. เขารู้กันทั่วไปว่า ปัญจกังคะ ก็เพราะ
เป็นผู้ประกอบด้วยเครื่องมือ 5 อย่าง กล่าวคือ มีด ขวาน สิ่ว ค้อน และ
สายบรรทัด. คำว่า นายช่างไม้ คือเป็นหัวหน้าช่างไม้. คำว่า อุทายี คือ
ท่านพระอุทายีเถระผู้เป็นบัณฑิต. คำว่า ปริยายํ แปลว่า เหตุ. คำว่า เทฺวปา-
นนฺท
แยกสนธิว่า เทฺวปิ อานนฺท. คำว่า ปริยาเยน คือ ด้วยเหตุ.
ก็บรรดาเวทนาเหล่านั้น พึงทราบว่า เวทนามี 2 คือ เวทนาที่เป็น
ไปทางกาย และเป็นไปทางใจ. มี 3 มีสุขเวทนาเป็นต้น. ว่าโดยอินทรีย์มี 5
มีสุขินทรีย์เป็นต้น. ว่าโดยทวารมี 6 มีจักขุสัมผัสสชาเวทนาเป็นต้น, ว่าโดย
อุปวิจารมี 18 เป็นต้นว่า เห็นรูปด้วยจักษุแล้วก็ควรพิจารณารูป ที่เป็นที่ตั้ง
แห่งโสมนัส ดังนี้. มี 36 อย่างนี้คือ โสมนัสที่อาศัยเรือน 6 โสมนัสที่อาศัย
เนกขัมมะ 6 โทมนัสที่อาศัยเนกขัมมะ 6 โทมนัสที่อาศัยเรือน 6 อุเบกขาที่
อาศัยเรือน 6 อุเบกขาที่อาศัยเนกขัมมะ 6. พึงทราบว่าเวทนาเหล่านั้น คือ
อดีต 36 อนาคต 36 ปัจจุบัน 36 รวมเป็น 108.
พระวาจาว่า ปญฺจ โข อิเม อานนฺท กามคุณา นี้เป็นอนุสนธิ
แยกคนละส่วน แท้จริง พระผู้มีพระภาคเจ้า มิใช่ทรงบัญญัติเวทนาตั้งต้นเพียง
2 เท่านั้น ยังตรัสเวทนาแม้เพียง 1 ไว้โดยปริยายก็มี เมื่อจะทรงแสดงเวทนานั้น

จึงทรงเริ่มเทศนานี้ เพื่อสนับสนุนวาทะของนายช่างไม้ที่ชื่อปัญจกังคะ. คำว่า
อภิกฺกนฺตตรํ แปลว่า ดีกว่า. คำว่า ปณีตตรํ แปลว่า สมควรกว่า. ใน
เวทนาเหล่านั้นนั่นแลตรัสเรียกว่า อทุกขมสุขเวทนา ตั้งแต่จตุตถฌาน. อทุก-
ขมสุขเวทนาแม้นั้น ตรัสเรียกว่า สุข เพราะอรรถว่า สงบ และเพราะ
อรรถว่า ประณีต. โสมนัสที่อาศัยเรือน 6 ตรัสเรียกว่า สุข. นิโรธ ชื่อว่า
สุข โดยเป็นสุขที่ไม่มีผู้เสวย. แท้จริง สุขที่เกิดด้วยอำนาจกามคุณ 5 และด้วย
อำนาจสมาบัติ 8 ชื่อว่า สุขที่มีผู้เสวย. นิโรธ จึงชื่อว่า สุขที่ไม่มีผู้เสวย.
ดังนั้น ไม่ว่าสุขที่มีผู้เสวยก็ตาม สุขที่ไม่มีผู้เสวยก็ตาม ก็จัดว่าสุขอย่างหนึ่งนั่น
เอง เพราะอรรถว่าเป็นสุข กล่าวคือภาวะที่ไม่มีทุกข์. คำว่า ยตฺถ ยตฺถ แปล
ว่า ในที่ใด ๆ. คำว่า สุขํ อุปลพฺภติ ความว่า ย่อมเกิดสุขที่มีผู้เสวยบ้าง
สุขที่ไม่มีผู้เสวยบ้าง. คำว่า ตถาคตย่อมบัญญัติสุขนั้น ๆ ไว้ในสุข คือ
ตถาคตย่อมบัญญัติภาวะที่ไม่มีทุกข์ทั้งหมดนั้นไว้ในสุขอย่างเดียว. ในพระสูตร
นี้ พระผู้มีพระภาคเจ้าทรงทำนิโรธสมาบัติให้เป็นประธาน แล้วจบเทศนาลง
ด้วยยอดธรรม คือ พระอรหัต ด้วยอำนาจเวไนยบุคคล ดังนี้.

จบอรรถกถาพหุเวทนียสูตรที่ 9

10. อปัณณกสูตร


ว่าด้วยพราหมณ์และคฤหบดีชาวบ้านศาลา


[103] ข้าพเจ้าได้สดับมาอย่างนี้.
สมัยหนึ่ง พระผู้มีพระภาคเจ้าเสด็จจาริกไปในโกศลชนบท พร้อม
ด้วยภิกษุสงฆ์เป็นอันมาก เสด็จถึงพราหมณคามนามว่าศาลา ของชนชาวโกศล
พราหมณ์และคฤหบดีชาวบ้านศาลาได้สดับข่าวว่า พระสมณโคดมศากยบุตร
ผู้เจริญ เสด็จออกผนวชจากศากยสกุล เสด็จจาริกมาในโกศลชนบท พร้อม
ด้วยภิกษุสงฆ์เป็นอันมาก เสด็จถึงบ้านศาลาแล้ว ก็กิตติศัพท์อันงามแห่งพระ-
โคดมผู้เจริญนั้น ขจรไปแล้วอย่างนี้ว่า แม้เพราะเหตุนี้ ๆ พระผู้มีพระภาคเจ้า
พระองค์นั้น เป็นพระอรหันต์ ตรัสรู้เองโดยชอบ ถึงพร้อมด้วยวิชชาและ
จรณะ เสด็จไปดี ทรงรู้แจ้งโลก เป็นสารถีฝึกบุรุษที่ควรฝึก ไม่มีผู้อื่นยิ่ง
กว่า เป็นศาสดาของเทวดาและมนุษย์ทั้งหลาย เป็นผู้เบิกบานแล้ว เป็นผู้
จำแนกพระธรรม พระผู้มีพระภาคเจ้าพระองค์นั้น ทรงทำโลกนี้ พร้อมทั้ง
เทวโลก มารโลก พรหมโลก ให้แจ้งชัดด้วยพระปัญญาอันยิ่งของพระองค์
เองแล้ว ทรงสอนหมู่สัตว์พร้อมทั้งสมณพราหมณ์ ทั้งเทวดาและมนุษย์ให้รู้ตาม
ทรงแสดงธรรมงามในเบื้องต้น งามในท่ามกลาง งามในที่สุด ทรงประกาศ
พรหมจรรย์พร้อมทั้งอรรถพร้อมทั้งพยัญชนะ บริสุทธิ์บริบูรณ์สิ้นเชิง ก็การ
ได้เห็นพระอรหันต์ทั้งหลาย เห็นปานนี้ ย่อมเป็นความดี.
ครั้งนั้น พราหมณ์และคฤหบดีข่าวบ้านศาลาพากันเข้าไปเฝ้าพระผู้มี-
พระภาคเจ้าถึงที่ประทับ บางพวกถวายบังคมแล้วนั่ง ณ ที่ควรส่วนข้างหนึ่ง
บางพวกได้ปราศรัยกับพระผู้มีพระภาคเจ้า ครั้นผ่านการปราศัยพอให้ระลึกถึง